เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ 2
ประการ คือ
1. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
2. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ โดย
พิสดารอย่างนี้
[121] สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ 2 ชนิด คือ
1. จีวรที่ควรเสพ
2. จีวรที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวบิณฑบาตไว้ 2 ชนิด คือ
1. บิณฑบาตที่ควรเสพ
2. บิณฑบาตที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวเสนาสนะไว้ 2 ชนิด คือ
1. เสนาสนะที่ควรเสพ
2. เสนาสนะที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวหมู่บ้านไว้ 2 ชนิด คือ
1. หมู่บ้านที่ควรเสพ
2. หมู่บ้านที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวนิคมไว้ 2 ชนิด คือ
1. นิคมที่ควรเสพ
2. นิคมที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :155 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค]
4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวนครไว้ 2 ชนิด คือ
1. นครที่ควรเสพ
2. นครที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวชนบทไว้ 2 ชนิด คือ
1. ชนบทที่ควรเสพ
2. ชนบทที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวบุคคลไว้ 2 จำพวก คือ
1. บุคคลที่ควรเสพ
2. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ 2 ชนิด คือ
1. จีวรที่ควรเสพ
2. จีวรที่ไม่ควรเสพ’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น จีวรเช่นนี้ควรเสพ
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ 2 ชนิด คือ
1. จีวรที่ควรเสพ
2. จีวรที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :156 }